ฟีโรโมน (Pheromone) น่ารู้ 15/02/2016 – โพสต์ใน: เกี่ยวกับฟีโรโมน – แท็ก:

สารเคมีที่แมลงสร้างขึ้นมาดึงดูดเพศตรงข้ามเรียกว่า ฟีโรโมน (pheromone)  สารเคมีเมื่อสร้างออกมาภายนอกร่างกายแล้ว สามารถที่จะไปมีผลต่อสัตว์อื่นที่เป็นชนิดเดียวกัน ทำให้เกิดมีการเปลี่ยน แปลงทางพฤติกรรมและสรีระเฉพาะอย่างได้ เมื่อสัตว์ปล่อยฟีโรโมนออกมานอกร่างกายแล้ว สัตว์ตัวอื่นจะได้รับฟีโรโมน 3 ทางด้วยกันได้แก่ ทางการดมกลิ่น ทางการกิน และทางการดูดซึม การรับฟีโรโมนทางกลิ่น ส่วนมากเพื่อประโยชน์ในการดึงดูด เพศตรงข้ามให้มาหา หรือเป็นการบอกตำแหน่ง ให้รู้ว่าอยู่ที่ไหนหรือเป็นการบอกอาณาเขต หรือเป็นสิ่งเตือนภัยให้รู้ถึง อันตราย ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมฟีโรโมนที่มีผลในทางกลิ่น ก็มีเช่น ชะมด ที่มีกลิ่นตัวแรงมาก สร้างมาจากต่อมใกล้ๆอวัยวะสืบพันธุ์ และ ปล่อยออกมานอกร่างกายได้ทั้งในตัวผู้และตัวเมียมนุษย์ ได้สกัดสารออกมาจากต่อมของสัตว์พวกนี้เพื่อใช้เป็นหัวน้ำหอม การรับฟีโรโมนด้วยการกิน มีตัวอย่างไม่มากนัก เท่าที่รู้จักกันก็มีสาร ที่สร้างมาจากต่อมบริเวณรยางค์ปากของผึ้งราชินี เพื่อเอาไว้ให้ผึ้งงานซึ่งเป็นผึ้งตัวเมียกิน เมื่อกินแล้วผึ้งงานจะเป็นหมัน เพราะสารดังกล่าวมีผลไปห้ามการเจริญเติบโต

ของรังไข่และการสร้างไข่ จึงทำให้ผึ้งงานไม่มีโอกาสสืบพันธุ์เหมือนผึ้งราชินี แต่กลับทำงานรับใช้ผึ้งราชินี ผึ้งตัวผู้ และตัวอ่อนผึ้งประดุจทาสจนตลอดชีวิตแม้ถึงฤดูผสมพันธุ์ก็ไม่ยุ่งเกี่ยวกับตัวผู้ส่วนการรับฟีโรโมนโดยการดูดซึม พบในสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังบางพวก เช่น แมลงสาบและแมงมุมบางชนิด ตัวเมียของสัตว์พวกนี้จะปล่อยฟีโรโมนทิ้งเอาไว้จนกระทั่งตัวผู้มาสัมผัสสารดังกล่าวจะซึมผ่านผิวเข้าไปกระตุ้นให้ตัวผู้เกิดความพอใจ และติดตามตัวเมียจนพบ และทำการผสมพันธุ์ ในตั๊กแตนตัวผู้จะปล่อยฟีโรโมนทิ้งเอาไว้หลังผสมพันธุ์ เมื่อตัวอ่อนเติบโตและสัมผัสถูกสารนั้นสารจะซึมผ่านเข้าสู่ร่างกายของตัวอ่อนแล้วกระตุ้นให้ตัวอ่อนเจริญเติบโตเป็นตัวเต็มวัยและสามารถสืบพันธุ์ได้สำหรับในคนยังไม่ทราบแน่ชัดว่ามีฟีโรโมนอะไรบ้าง

วิธีการทำงานของ ฟีโรโมน Pheromone

เมื่อสัตว์ตัวหนึ่งปล่อย Pheromone ออกมานอกร่างกายแล้ว สัตว์ตัวอื่นจะได้รับ Pheromone 3 ทางด้วยกัน

  1. ทางกลิ่น (Olfaction ) พบในแมลงหลายชนิด ซึ่งส่วนมากก็เพื่อประโยชน์ในการดึงดูดเพศตรงข้าม หรือไม่ก็เป็นการบอกให้รู้ว่าอยู่ที่ไหน หรือเป็นสัญญาณอันตรายเตือนภัยให้รู้ Pheromone ที่มีผลทางกลิ่นในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ได้แก่ กลิ่นตัวแรงของชะมด ซึ่งสร้าง Pheromone มาจากต่อมใกล้ๆอวัยวะสืบพันธุ์ แล้วปล่อยออกมานอกร่างกายทั้งในตัวผู้และตัวเมีย Pheromone ของชะมดนี้เองที่คนเราไปสกัด Pheromone แบบนี้มาจากธรรมชาติหลายชนิดแล้ว อีกทั้งยังสามารถสังเคราะห์ขึ้นเองเช่นกัน
  2. การกิน ( Ingestion ) เช่น ผึ้ง (เป็นแมลงที่อยู่กันเป็นสังคม แบ่งเป็น 3 วรรณะ คือนางพญา ( Queen ) ตัวผู้ drone และผึ้งงาน worker นางพญาจะสร้างสารจากต่อมบริเวณระยางค์ของปากส่วน mandible เรียกสารนั้นว่า Queen substance เอาไว้ล่อผึ้งงาน โดยไปยับยั้งรังไข่ของผึ้งงาน ( ผึ้งงานมีเฉพาะตัวเมีย ) ไม่ให้มีการเจริญเติบโตและสร้างรังไข่ จึงไม่มีโอกาสสืบพันธุ์
  3. การดูดซึม ( absorption ) พบเฉพาะในสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังเท่านั้น เช่นแมงมุมบางชนิด และแมลงสาบ ตัวเมียจะปล่อย Pheromone ทิ้งเอาไว้จนกระทั่งตัวผู้มาสัมผัส ก็จะซึมเข้าไปกระตุ้นให้เกิดความต้องการทางเพศ ติดตามหาตัวเมียจนพบและผสมพันธุ์ แต่ในตั๊กแตนตัวผู้จะปล่อยฟิโรโมนทิ้งเอาไว้หลังผสมพันธุ์ เมื่อตัวอ่อนมาสัมผัสฟิโรโมนนั้นก็จะดูดซึมเข้าไปกระตุ้นให้เติบโตเป็นตัวเต็มวัยและสืบพันธุ์ได้

ชนิดของ ฟีโรโมน Pheromone

จำแนกเป็น 3 ชนิด ตามปฏิกิริยาหรืออิทธิพลของฟิโรโมน

  1. Releaser pheromone เป็น Pheromone ที่ไปมีผลโดยตรงต่อระบบประสาทกลางของสัตว์ที่ได้รับ ทำให้เกิดปฏิกิริยาตอบสนองขึ้นในทันทีทันใด Releaser pheromone บางชนิดทำหน้าที่ดึงดูดเพศตรงข้ามให้มีการผสมพันธุ์ ชนิดนี้มีพบในสัตว์ทั่วไปซึ่งในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมตัวผู้จะไปทำหน้าที่กระตุ้นให้ตัวเมียมีความต้อง การทางเพศมากขึ้น ส่วนฟิโรโมนของตัวเมียทำหน้าที่บอกให้ตัวผู้ทราบถึงระยะเวลาที่จะผสมพันธุ์Releaser pheromone บางชนิดทำหน้าที่เกี่ยวกับพฤติกรรมการต่อสู้ เช่น หนูตัวผู้ 2 ตัวที่เคยอยู่ร่วมกันจะกัดกันหากได้กลิ่น Pheromone ชนิดหนึ่งของหนูตัวผู้จากที่อื่น นอกจากนั้น Releaser pheromone ใช้บอกความเป็นพวกเดียวกันในกลุ่มเดียวกัน บางชนิดก็บอกตำแหน่งที่อยู่อาศัย ดังเช่น Releaser pheromone ของมด ที่ใช้บอกทางเดินนอกจากจะเป็นทางพาไปสู่แหล่งอาหาร และที่สร้างรังใหม่ ยังทำหน้าที่ช่วยกระตุ้นให้เกิดความว่องไวด้วย Pheromone และขับสารออกมาจากต่อมบริเวณอวัยวะที่มดใช้ต่อยโดยใช้อวัยวะดังกล่าวแตะกับพื้นเป็นระยะๆเมื่อมดงานมาพบทางนี้เข้ามันก็จะเดินตามทางโดยอัตโนมัติ และมันจะเดินชิดกันด้วยเพื่อไม่ให้หลงทาง สารที่ใช้เป็นทางเดินนี้ระเหยได้ เมื่อระเหยไปจนต่ำกว่าระดับ ความต้องการของมดแล้วก็ไม่สามารถที่จะกระตุ้นมดได้อีก ใช้เวลาทั้งสิ้น 2 นาที และมดจะเดินทางได้ 40 เซนติเมตร การระเหยไปเช่นนี้กลับมีประโยชน์เพราะมดจะเดินไม่หลงทางเดิมที่เลิกใช้ไป แล้ว ความเข้มข้น Pheromone ยังเป็นเครื่องบอกปริมาณอาหารด้วย
  2. Primer pheromone เป็น Pheromone ที่ไปมีผลต่อต่อมใต้สมองส่วนหน้าทำให้เกิดปฏิกิริยาตอบสนองที่ช้ามาก ต้องกระตุ้นเป็นเวลานานจึงจะเกิดปฏิกิริยาทางสรีรวิทยาต่อเนื่องกันเป็นทอดๆ เช่น ปลวกซึ่งอยู่กันเป็นสังคมแบบเดียวกับผึ้งแต่มีเพิ่มอีก 2 วรรณะคือ submentary reproductive from และปลวกทหาร soldier พวกปลวกทหารและพวกที่สืบพันธุ์ได้จะขับสารออกมา และเมื่อตัวอ่อนกินเข้าไปสารนั้นจะไปบังคับ corpusallatum ไม่ให้ทำงานตามปกติ ปลวกตัวอ่อนนี้จึงไม่เจริญเติบโต เป็นปลวกทหารและปลวกสืบพันธุ์ แต่จะเจริญไปเป็นปลวกงาน ในตั๊กแตนบางชนิดตัวผู้จะขับสารระเหยออกมาจากผิว แล้วมีส่วนไปเร่งการเติบโตของตัวอ่อน ทำให้ตั๊กแตนเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็วสำหรับ primer pheromone ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมส่วนมากสร้างมาจากตัวผู้ ทำหน้าที่เกี่ยวกับเพศ คือ กระตุ้นหรือเร่งการเกิด estrus ( เป็นช่วงเวลาหนึ่งที่ร่างกายสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมตัวเมีย ยกเว้นคนอยู่ในสภาพที่พร้อมจะผสมพันธุ์ ) เช่น ในแพะแกะ ซึ่งมีการผสมพันธุ์เป็นฤดู ถ้านำตัวผู้มาอยู่กับตัวเมียก่อนฤดูผสมพันธุ์เล็กน้อย ตัวผู้จะสร้าง Pheromone มาเร่งการเกิด estrus ของตัวเมียเร่งการตกไข่เร็วกว่ากำหนด แต่ถ้าอยู๋ด้วยกันมาตลอด จะไม่มีการเร่งการตกไข่ให้เร็วขึ้น นอกจากนั้นแล้ว primer pheromone ยังทำหน้าที่ห้ามการตั้งท้องของหนูด้วย ขณะที่หนูตัวเมียตั้งเริ่มตั้งท้อง(ระยะก่อนที่ตัวอ่อน จะฝังตัวกับผนังมดลูก ) แล้วมีหนูตัวผู้จากที่อื่นไปยู่ด้วย กลิ่นของ Pheromone จากตัวผู้ตัวอื่นจะไปมีผลยับยั้งการฝังตัว ของตัวอ่อน แต่กลับไปกระตุ้นให้มีการตกไข่ตามปกติ เพราะ Pheromone ของหนูตัวผู้นั้นไปสร้างสารกระตุ้นต่อมใต้สมองส่วนหน้าให้หลั่ง ฮอร์โมนที่เกี่ยวกับการตกไข่และการเกิด estrus ขณะเดียวกันก็ไปยับยั้งต่อมใต้สมองส่วนหน้า ไม่ให้หลั่งฮอร์โมนที่กระตุ้นรังไข่ไม่ให้สร้าง progesterone ที่จำเป็นต่อการฝังตัวของตัวอ่อน
  3. Imprinting pheromone การมีหรือไม่มี Pheromone บางอย่างในช่วงวิกฤติของการเจริญเติบโต จะไปทำให้เกิดปฏิกิริยาตอบสนองขึ้นในตอนที่โตเต็มวัยขณะที่เป็นตัวอ่อนจะไม่แสดงอาการเรียก Pheromone ที่เกี่ยวกับปฏิกิริยาดังกล่าวว่า Imprinting pheromone พฤติกรรมของสัตว์โตเต็มวัยที่ขาดหายไปก็เพราะเกี่ยวกับ Imprinting pheromone ในขณะที่กำลังเจริญเติบโต